นักวิจัยวิทยา มช. ร่วมกับนักวิจัยไทย และออสเตรเลีย

ในการศึกษาวิจัยนักวิจัยได้ลงพื้นที่สำรวจแปลงปลูกคะน้าทั้งหมด 15 แห่ง ในภาคเหนือของประเทศไทยที่ปลูกคะน้าในระบบมาตรฐาน IFOAM หรือ GAP จากนั้นเก็บตัวอย่างคะน้าที่แสดงอาการจุดดำมาศึกษาลักษณะอาการภายใต้กล้องจุลทรรศน์และแยกเชื้อบริสุทธิ์ด้วย aseptic technique บนอาหารเพาะเลี้ยงเชื้อรา  ระบุชนิดของเชื้อรา โดยใช้ข้อมูลลักษณะสัณฐาน (โคโลนี สปอร์ และโครงสร้างอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง) และข้อมูลทางอณูชีววิทยา (แผนภูมิต้นไม้เชิงวิวัฒนาการจากข้อมูลยีนส์ ITS, mtSSU และ EF1-alpha)

การศึกษาลักษณะสรีรวิทยาบางประการของเชื้อ (ปัจจัยต่างๆ ได้แก่ สารอาหาร อุณหภูมิ สารเคมีบางชนิด ต่อการเจริญโดยทั่วไป การสร้างสปอร์ การปลดปล่อยสปอร์ การผลิตเอนไซม์) ใช้การพิสูจน์โรคในต้นกล้าคะน้า 2 วิธี (non-wound และ mulch inoculation bioassays) ปลูกเชื้อบนใบ/ลงดิน โดยใช้ culture discs ของเชื้อรา ชุดควบคุมใช้ agar discs ทำกรรมวิธีละ 6 ซ้ำ ติดตามอาการของโรคที่เกิดด้วยตาเปล่าและภายใต้กล้องจุลทรรศน์

0SHAREFacebookLINE it!

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

No comments yet
^